‘นฤตม์’ เร่งพัฒนาแรงงานรับอุตสาหกรรมใหม่ ดึงต่างชาติลงทุนไทย

2024-08-22 HaiPress

'นฤตม์' บีโอไอ เผยเร่งพัฒนาแรงงานรับอุตสาหกรรมใหม่ ดึงต่างชาติลงทุนไทย แข่งมาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย

วันที่ 21 ส.ค. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และเดลินิวส์ออนไลน์ ได้จัดงานเสวนา “เดลินิวส์ ทอล์ก 2024” (Dailynews Talk2024) ในหัวข้อ“THAILAND : FUTURE AND BEYOND…ก้าวต่อไปของประเทศไทย”ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวในหัวข้อ“ฝ่าลมต้านเศรษฐกิจ…สู่การเติบโตที่ยั่งยืน”ว่า เมื่อพูดถึงภาคเศรษฐกิจต่างประเทศมี 3เสาหลัก ที่เป็นที่มาของแหล่งรายได้ของประเทศไทย คือ การลงทุนการ การส่งออก และการท่องเที่ยว ซึ่งการลงทุนเป็นหนึ่งในเสาหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

“ตอนนี้อยู่ในช่วงสำคัญของเศรษฐกิจไทย จากที่ท่านรองนายกรัฐมนตรีพิชัย ชุณหวชิรบอกว่าไทยมีการพัฒนาครั้งใหญ่เมื่อ30ปีที่แล้ว มีโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกหรืออิสเทิร์นซีบอร์ด พัฒนาท่าเรือน้ำลึกนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทำให้มีเคลื่อนการลงทุนเข้ามามากในช่วงนั้น ตอนนี้ถือเป็นโอกาสทองของไทยเป็นทศวรรษที่ไทยจะสร้างฐานการผลิตใหม่ ที่เราจะเติบโตต่อไปได้ในช่วง10ปีข้างหน้า”

ทั้งนี้หากมองไปข้างหน้าจากนี้ไป มี3ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อทิศทางการลงทุน คือ1.ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศมหาอำนาจ แต่ไทยมีความเป็นกลางกับทุกประเทศ2.ภาวะโลกร้อน เพราะเวลาส่งออกนั้น ไม่ได้ตั้งเป้าจำนวนรายได้หรือกำไรในเชิงธุรกิจเท่านั้น แต่มีเป้าที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนไดออกไซด์

และเป้าที่จะใช้พลังงานสะอาดกี่เปอร์เซ็นซึ่งเป็นทิศทางในการดำเนินธุรกิจในระยะข้างหน้า และกติกาภาษีใหม่ ประเทศส่วนใหญ่จะเปลี่ยนในปี2568ที่จะเปลี่ยนทิศทางการลงทุน โดยทั้งหมดนี้จะมีผลต่อทิศทางการลงทุนในระยะข้างหน้า

ส่วนจุดแข็งของประเทศไทย มีหลายเรื่องในสายตานักลงทุน ทั้งความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูง มีระบบโลจิสติกส์ที่ดี ท่าเรือที่มีคุณภาพ อุตสาหกรรมที่มีคุณภาพสูงมากกว่า70แห่งทั่วประเทศ และซัพพลายเชนที่แข็งแกร่ง ทั้งยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี มีบุคลากรที่มีคุณภาพ ตลาดเชื่อมทั้งภายในประเทศตลาดที่เชื่อมโยงกับภูมิภาคได้ อินเซนทีฟที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่กรีนอินเวสเมนต์ รวมทั้งการวางตัวของประเทศไทยที่เป็นกลาง และความน่าอยู่น่าเที่ยวของไทย ทำให้เอสแพ็คต่างชาติอยากมาทำงานในไทยรวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับทั้งโรงเรียนนานาชาติกว่า200แห่ง และโรงพยาบาลมาตรฐานโลก

อย่างไรก็ตามจุดแข็งที่ไทยมียังไม่เพียงพอ เพราะการแข่งขันในภูมิมีสูงทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ซึ่งต่างต้องการแย่งชิงโครงการที่มีคุณภาพเข้าสู่ประเทศตัวเอง ดังนั้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันดึงสิ่งดีๆ นักลงทุนต่างชาติเข้ามาอยู่ในไทย จะต้องทำอย่างไรอีก5เรื่อว คือ1.เร่งผลักดันพลังงานสะอาดในราคาที่เหมาะสม2.เร่งขายการค้าเสรีหรือเอฟทีเอ ที่จะทำไทยสามารถเปิดตลาดการค้าการลงทุนแบบเสรีได้ ปัจจุบันมีเอฟทีเอ15ฉบับ19ประเทศ ขณะที่เวียดนามมีมากกว่า50ประเทศ3.การสร้างบุคคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเฉพาะที่เป็นเทคเบส อาทิ เซมิกคอนดักเตอร์ แผนวงจรอินทรอนิกส์ที่เข้ามาก4.สร้างความสะดวกในแง่ของการประกอบธุรกิจและที่อยู่อาศัย เป็นหัวใจสำคัญที่ดึงบริษัทต่างชาติอยากมาลงทุนในไทย และ5.การขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมรงรับการเติบโต

“ถ้าเราสามารถทำทั้งหมดนี้ได้ จะนำมาสู่โอกาสในการสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ต่อไทย ผมมองว่ามี7สาขาสำคัญ ที่จะประเทศไทยจะต้องอาศัยจังหวะช่วงนี้ในการสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ให้ได้ แยกเป็น2ตัวแรกเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่สำคัญได้แก่ เซมิกคอนดักเตอร์ และแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ หากไทยสามารถทำได้จะทำให้จะทำให้มีความยั่งยืนในการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ในระยะยาว ส่วนอีก5อุตสาหกรรมใหม่ ได้แก่ การผลิตไฟฟ้าพลังานสะอาด เอ็กซ์อีวีซึ่งเป็นอีวีทุกประเภท อิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง ดิจิทัล และการเป็นศูนย์กลางระหว่างประเทศ เพื่อทำให้ไทยเติบฌโคต่อเนื่องในอนาคตได้”

นายนฤตม์กล่าว่า การลงทุนของไทยเติบโตมาในรอบ10ปี ที่ผ่านมา โดยครึ่งปีแรกของปี 2567มีผู้ขอรับคำส่งเสริม1,412โครงการ เพิ่มขึ้น60%มูลค่า458,359ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30%โดยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และชิ้นส่วน เกษตรและแปรรูปอาหาร ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ดิจิทัล ดาต้าเซ็นเตอร์ และคลาวด์เซอร์วิส ขณะที่บริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทย ได้แก่ สิงคโปร์ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไต้หวัน

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา

ติดต่อเรา

©ลิขสิทธิ์ 2009-2020 เครือข่ายการศึกษาไทย    ติดต่อเรา  SiteMap